pediatrician doctor examining baby girl with stethoscope at clinic office

โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่มีการถ่ายทอดเชื้อจากคนไปสู่คน ผ่านทางระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี โดยมีมูลเหตุ และมีต้นเหตุที่เกิดจากเชื้อไวรัสกรุ๊ป Enterovirus หลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อ Coxsackievirus A16 และก็ Enterovirus 71 คนไข้จำนวนมากจะออกอาการไข้ เจ็บคอ แล้วก็ผืนรอบๆปาก ฝ่ามือรวมทั้งฝาตีน ซึ่งอาการพวกนี้จะหายได้เองข้างใน 1 อาทิตย์ แม้กระนั้นบางครั้งก็อาจจะเจอภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทในคนเจ็บส่วนหนึ่งส่วนใด ซึ่งบางทีอาจร้ายแรงถึงกับตายไดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเชื้อ Enterovirus 71

1. สาเหตุ

โรคมือ เท้า ปาก เป็นกลุ่มอาการหนึ่งซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสที่สามารถเจริญเติบโตได้ในลำไส้ ที่เรียกว่า เอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีหลายชนิด ที่พบบ่อย คือ ไวรัสคอคแซกกี เอ 16 ไวรัสคอคแซกกี เอ สายพันธุ์อื่น ๆ ไวรัสเอนเทอโร 71 และไวรัสเอคโค เป็นต้น โรคนี้พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็ก โดยจะมีอาการไข้ มีตุ่มหรือแผลแดงอักเสบที่บริเวณลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ฝ่ามือ นิ้วมือ และฝ่าเท้า ในเขตร้อนชื้นพบโรคประปรายตลอดปี ไม่มีฤดูกาลที่ชัดเจน และมักเกิดบ่อยขึ้นในช่วงอากาศเย็นและชื้น 

2. อาการ

หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการด้วยการมีไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ต่อมามีอาการเจ็บปาก กลืนน้ำลายไม่ได้และไม่ยอมรับประทานอาหารและเบื่ออาหาร เนื่องจากมีจุดหรือตุ่มแดงอักเสบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ต่อมาจะเกิดตุ่มหรือผื่นนูนสีแดงเล็ก (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ (มักอยู่ที่ด้านข้างของนิ้ว) ฝ่าเท้า (มักอยู่ที่ส้นเท้า) และอาจพบที่บริเวณหัวเข่า ข้อศอก หรือก้นได้ ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส (maculo – papular vesicles) บริเวณรอบ ๆ อักเสบและแดง ในปากจะพบเป็นตุ่มแดงที่ลิ้นซึ่งต่อมาจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ (ulcer) อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติ ภายใน 7-10 วัน โดยทั่วไปโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้บ่อย เป็นโรคที่มีอาการไม่รุนแรง และแทบไม่มีผู้เสียชีวิตเลย พบผู้ป่วยน้อยรายที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่มีอาการรุนแรงเกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71

3. การติดต่อ

ไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางปากโดยตรง โดยเชื้อไวรัสติดมากับมือ ภาชนะที่ใช้ร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หรือของเล่น ที่ปนเปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือน้ำจากตุ่มพอง แผลในปาก หรืออุจจาระผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ เชื้อจะผ่านเข้าไปที่เยื่อบุของคอหอย และลงไปที่ลำไส้  โดยเชื้อไวรัสจะขยายเพิ่มจำนวนที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอหอยรวมทั้งทอนซิล และเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ เชื้อไวรัสที่อยู่ในลำไส้จะถูกขับออกมากับอุจจาระ เชื้อไวรัสจะอยู่ในลำไส้และถูกขับถ่ายปนออกมากับอุจจาระเป็นระยะ ๆ ได้นานถึง 6 – 8 สัปดาห์ การติดต่อมักเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสออกมามาก จากการรับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โดยเชื้อไวรัสติดมาจากมือหรือของเล่นที่ปนเปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือน้ำในตุ่มพอง หรือแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย การติดเชื้อจากอุจจาระ จะเกิดได้ถึงระยะที่ผู้ป่วยมีอาการทุเลาจนกระทั่งหายป่วยแล้ว ประมาณ 6-8 สัปดาห์ แต่จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่าระยะสัปดาห์แรก ๆ ส่วนการติดต่อทางน้ำหรืออาหารมีโอกาสเกิดได้น้อย โรคนี้ไม่ติดต่อโดยการหายใจ โดยทั่วไปมักเริ่มพบอาการป่วยภายใน 3-6 วัน หลังได้รับเชื้อ

4. การรักษา

โรคนี้ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและหายได้เอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะป่วยนานประมาณ 7-10 วัน เนื่องจากยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ จึงใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เช่น การใช้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาทาแก้ปวดในรายที่มีแผลที่ลิ้นและกระพุ้งแก้ม ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กควรเช็ดตัวผู้ป่วยเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้เด็กรับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำ น้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมาก ๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อน อาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดนม เพื่อลดการปวดแผลในปาก ที่สำคัญคือการป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิต ตามปกติโรคนี้มักไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอนเทอโรไวรัส 71 อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง ชัก ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนจากภาวะสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งจะรุนแรงจนเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กและเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือผู้ที่ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน

5. การป้องกันควบคุมโรค

การแยกเด็กป่วยหรือเด็กที่สงสัยว่าป่วยออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค รวมทั้งการส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ถูกต้อง ได้แก่ การล้างมือ การไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน การป้องกันการไอ-จามรดกัน เป็นต้น เหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดให้มีมาตรการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และดำเนินการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในสถานศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ โดยร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการให้ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคกรณีเกิดการระบาด เมื่อพบว่ามีการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ดังต่อไปนี้

– เร่งรัดมาตรการสุขาภิบาลในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็กในทุกหมู่บ้าน โรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนประถมทุกแห่ง ศูนย์การค้าที่มีเครื่องเล่น ต้องจัดให้มีการทำความสะอาดพื้น ของเล่นเด็ก ห้องสุขาและห้องน้ำ อุปกรณ์สำหรับการรับประทานอาหารและแก้วน้ำ โดยใช้หลักการและแนวทางตามประกาศของกรมอนามัย

– เผยแพร่คำแนะนำ เรื่องโรคมือ เท้า ปาก แก่ผู้ปกครองและเด็กนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ช่วยป้องกันการติดต่อ โดยเฉพาะการล้างมือและการรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อม และควรแยกของใช้ไม่ให้ปะปนกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร ควรมีการใช้ช้อนกลาง เป็นต้น

– เฝ้าระวังตรวจเด็กทุกคน หากพบเด็กที่มีอาการโรคมือ เท้า ปาก ต้องรีบแยกออกและให้หยุดเรียน 7-10 วันหรือจนกว่าจะหายป่วย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังเด็กคนอื่น ๆ

– นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการให้แนวทางในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาดแก่บุคลากรสาธารณสุข รวมถึงให้ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก และการป้องกันแก่ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

อ้างอิงจาก http://thaigcd.ddc.moph.go.th สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

Shares: