องค์การอนามัยโลก โดย Expert  committee  on  The Diagnosis  and  Classification  of  Diabetes  Mellitus ปี พ.ศ. 2543 ได้แบ่งประเภทของโรคเบาหวานตามลักษณะทางคลินิก (Clinical  classes)  โดยแบ่งเป็น 4 ประเภท  คือ

1. โรคเบาหวานประเภทที่1  (Type1 Diabetes)  หรือประเภทพึ่งอินซูลิน (Insulin  dependent  diabetes  mellitus, IDDM)  ซึ่งเดิมเคยเรียกว่า โรคเบาหวานในเด็ก (Juvenile  onset  diabetes)  โรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจากเบต้าเซลล์ในตับก่อนมีจำนวนน้อยหรือเกือบไม่มีเลย  ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ที่อายุไม่เกิด  40  ปี  พบได้ทั้งเพศชายและหญิงในจำนวนใกล้เคียงกัน  อาการของโรคจะเกิดขึ้นกะทันหันและรุนแรง  ผู้ป่วยมักมีรูปร่างผอมหรือน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว  และพบว่าส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับ HLA  ผู้ป่วยประเภทนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินทุกวัน  มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมีอันตรายถึงชีวิตได้ง่าย  โดยเฉพาะภาวะกรดคีโตนคั่งในเลือด  (diabetic  Ketoacidosis, DKA)

2.  โรคเบาหวานประเภทที่2  (Type2  Diabetes  )  หรือประเภทไม่พึ่งอินซูลิน  (Non-insulin  dependent  diabetes  mellitus, NIDDM)  ซึ่งเดิมเคยเรียกว่า โรคเบาหวานผู้ใหญ่ (Maturity onset  diabetes) โรคเบาหวานชนิดนี้  พบมากที่สุดประมาณร้อยละ  95-97  ของผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทย  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอ้วน  มีประวัติเป็นเบาหวานในครอบครัว  อายุมากกว่า 40 ปี ตับอ่อนยังพอผลิตอินซูลินได้บ้างแต่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินในระยะแรกอาจรักษาได้ด้วยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาล  แต่เมื่อเป็นนาน ๆ ในผู้ป่วยบางรายมีเบต้าเซลล์เสื่อมหน้าที่ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีอาจจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน

3. โรคเบาหวานชนิดอื่นๆ  (Other  specific  type)  ได้แก่  โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของเบต้าเซลล์  (Genetic  defects  of  b-cell  function ) โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมจากการออกฤทธิ์ของอินซูลิน  (Genetic  defects  of  insulin  action  ) โรคเบาหวานที่เกิดจากโรคของตับอ่อน  (Diseases  of  the  exocrine  pancreas)  โรคเบาหวานที่เกิดจากโรคทางต่อมไร้ท่อ (Endocrinopathies)  โรคเบาหวานที่เกิดจากยาหรือสารเคมี  (Drug – or chemical – induced)  โรคเบาหวานที่เกิดจากการติดเชื้อ  (Infection)  โรคเบาหวานที่เกิดจากระบบอิมมูนที่พบไม่บ่อย  (Uncommon  forms  of  immune-mediated  diabetes)  และโรคเบาหวานที่มีความสัมพันธ์กับโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ  (Other  genetic  syndromes  sometimes  associated  with  diabetes)

4.  โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ (Gestational  diabetes  mellitus  : GAM)  โรคเบาหวานชนิดนี้ผู้ป่วยจะไม่เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อน  ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนจากรกซึ่งมีฤทธิ์ต้านอินซูลิน  เป็นผลให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลิน  ถ้าไม่สามารถเพิ่มการสร้างอินซูลินให้เพียงพอ  จะทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ได้ หลังคลอดมักจะพบว่าอาการโรคเบาหวานหายไปแต่จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้มาก  จึงควรมีการตรวจเช็คเป็นระยะและมีพฤติกรรมที่ป้องกันการเกิดเบาหวาน

อ้างอิง : http://www.libarts.mju.ac.th/LibDocument/EBook/Apichart

Shares: