โรคเก๊าท์ มีสาเหตุมาจากความผิดปรกติของการสะสมกรดยูริค อาหารอะไรบ้าง? ที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ควรงดเด็ดขาดมาดูกันเลย

โรคเก๊าท์ มีสาเหตุมาจากความผิดปรกติของการสะสมกรดยูริค(Uric acid)ในร่างกาย กรดยูริคได้จากการเผาผลาญสารพิวรีนซึ่ง เป็นธาตุอาหารที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้และพบได้ทั่วไปในอาหารหลายชนิดโดยปกติเมื่อสารพิวรีนที่ร่างกายได้รับ จะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะสำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบ ๆ ข้อกระดูกในเพศชายไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับเพศหญิง ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์

อาหารที่ผู้ป่วยควรงดเด็ดขาด

คือ เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท ส่วนอาหารประเภทอื่นๆ ทั้งสัตว์ปีก สัตว์เนื้อแดง อาหารทะเล ยอดผัก น้ำซุป น้ำผลไม้หรือน้ำหวานทุกชนิดที่มีน้ำตาลฟรุกโตส สามารถรับประทานได้แต่ควรจำกัดปริมาณ และควรรับประทานอาหารให้หลากหลายในแต่ละมื้อ

ทั้งนี้ การรักษาหลักที่สําคัญที่สุดที่จะช่วยให้ผู้ป่วย หายจากโรคเกาต์ คือ การรับประทานยาเพื่อลดระดับกรดยูริก ให้อยู่ต่ำกว่า 5.0-6.0 มก./ดล. ซึ่งหากผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจนคุมระดับกรดยูริกได้ดีจะช่วยให้โรคเกาต์สงบ อาการข้ออักเสบจะหายไป และผู้ป่วยจะสามารถกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติโดยไม่ปวดข้ออีก

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

1. อาหารที่มีปริมาณพิวรีนมาก ได้แก่ ตับอ่อน หัวใจ ตับ กึ๋นของไก่ เนื้อไก่ ห่าน มันสมองวัว ไข่ปลา ปลาอินทรีย์ ปลาดุก ปลาไส้ตัน หอย ถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง ชะอม กระถิน เห็ด กะปิ

2. อาหารที่มีปริมาณพิวรีนปานกลาง รับประทานได้แต่ต้องจำกัดปริมาณ ได้แก่ เนื้อหมู วัว ปลากะพง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม ดอกกะหล่ำ หน่อไม้

3. อาหารที่มีปริมาณพิวรีนน้อย ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวโอ๊ด ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ข้าวโพด ผักและผลไม้ น้ำตาลและขนมหวาน ไขมันจากพืชและสัตว์ ข้าวและขนมปัง เนยเหลว และเนยแข็ง

การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

การควบคุมอาหาร โดยงดอาหารที่เป็นสาเหตุ และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลดอาการ และทำให้มีชีวิติอยู่อย่างมีความสุข

Shares: