ยาแก้ไอ สองกลุ่มที่เราควรรู้จัก

            อาการไอของมนุษย์นั้น เป็นกลไกในการตอบสนองของร่างกายเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในระบบทางเดินหายใจ การไอจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่มนุษย์ทุกคนต้องมีอาการไอ อาการไออาจก่อให้เกิดความรำคาญหากไอรุนแรงและยาวนานและเมื่อเราไอติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะทำให้เราเกิดการบาดเจ็บในระบบทางเดินหายใจ และส่งผลถึงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายเราด้วย

            เมื่อเรามีอาการไอ เราก็มักจะใช้ยาที่ทำให้อาการไอของเราลดลง ยาที่ลดอาการไอ หรือยาแก้ไอ มีสองกลุ่มที่เราควรรู้จักดังนี้

ยาแก้ไอสำหรับมีอาการไอแบบมีเสมหะ

         แบ่งย่อยได้อีกสองกลุ่มคือ

            1. ยาขับเสมหะ ที่ออกฤทธิ์โดยทำให้ร่างกายสร้างสารน้ำออกมาหล่อเลี้ยงทางเดินหายใจมากขึ้น

            2. ยาละลายเสมหะ ที่ออกฤทธิ์ต่อเสมหะโดยตรงและทำให้เสมหะข้นเหนียวน้อยลง

            ยาทั้งสองกลุ่มนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยไอและขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น มักใช้ในอาการไอที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น หวัด คออักเสบ หลอดลมอักเสบ

            ตัวอย่างยาขับเสมหะ ได้แก่ Bronchonyl, Glycolate, Qualiton, Robitussin, Royalin,
Salmol Expectorant, Tolbin Expectorant


            ตัวอย่างยาละลายเสมหะ ได้แก่ Amtuss, Mucolid, Mucosolvan, Simusol, Strepsil Chesty Cough Acetin, Flemex-AC, Fluimucil, Mucolid-SF, Nac Long, Mysoven Amicof, Carbomed, Carsemex, Elflem, Flemex, Rhinathiol, Siflex

ยาแก้ไอสำหรับอาการไอแห้ง

            หรือบางครั้งเรียกยากลุ่มนี้ว่ายากดอาการไอ เป็นยา ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้กลไกตอบสนองของร่างกาย ต่ออาการไอเกิดขึ้นน้อยลงและช่วยบรรเทาอาการไอ

            ยากลุ่มนี้โดยมากใช้สำหรับบรรเทาอาการไอที่เกิดจากการแพ้หรืออาการไอที่ไม่มีเสมหะ เพราะหากให้ในอาการไอแบบมีเสมหะ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสมหะที่เหนียวข้นอยู่แล้วถูกขับออกมาจากทางเดิน หายใจได้ยากขึ้น จนเกิดอาการระคายเคืองและทำให้อาการไอรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมได้ รวมทั้งยาบางตัวอาจ ทำให้เกิดการเสพติด หรือก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงได้

            ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ A-Tussin, Dextroral, Eifcof-G, Icolid, Lohak, Manodextro, Pusiran, Romilar, Stripsils Dry Cough, Throatsil Dex, Terco-D
Codipront, Codepect, Codesia, Ropect, Terco-C
,Bronal, Levopront , Sinecod


ปล. ยาแก้ไอหลายชนิดมักผสมกับยาขยายหลอดลม ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ใช้ยาแก้ไอมีอาการใจสั่นได้ หากใช้ยามากเกินไป

อ้างอิง อาจารย์ เกสัชกรรีรัตถ์ เหลืองมั่นคง ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Shares: