น้ำสมุนไพร เพื่อสุขภาพ Herbal juice for health

น้ำสมุนไพร คือ เครื่องดื่มที่เตรียมจากส่วนต่างๆ ของพืช ไม่ว่าจะได้มากจากการคั้นน้ำจากผลไม้สด หรือเตรียมจากส่วนอื่นๆ เช่น เหง้า ใบ ดอก เมล็ด

ความเป็นมาและความสำคัญของน้ำสมุนไพร

สมุนไพร เป็นทรัพยากรธรรมชาติ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงส่วนของพืชที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรค แต่ในความจริง คือส่วนประกอบที่ได้จากพืช สัตว์ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาใช้สำหรับทำเครื่องยา ตัวอย่างเช่น

  • สมุนไพรจากพืช ได้แก่ ผัก ผลไม่ต่าง ๆ เช่น ขิง ใบเตย กะเพรา ว่านหางจระเข้ ผักคะน้า ผักตำลึง ส้ม แตงโม เป็นต้น
  • สมุนไพรจากสัตว์ ได้แก่ เขากวาง ดีหมี ดีงู จิ้งจก ตุ๊กแก เป็นต้น
  • แร่ธาตุที่ใช้เป็นสมุนไพร ได้แก่ น้ำปูนใส เกลือแกง ดีเกลือ เป็นต้น 

นอกจากนั้น ยังมีบางส่วนของสมุนไพรที่รับประทานไม่ได้ยังสามารถใช้ทำยาภายนอกได้ เช่น ช่วยป้องกันยุงกัด รักษาบาดแผล เป็นต้น

ดังนั้น น้ำสมุนไพรจึงเป็นน้ำดื่มที่ได้จากการใช้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของพืชเช่น ผลไม้ผัก/ธัญพืชต่าง ๆนำมาแปรรูปให้เหมาะสมตามฤดูกาลการเตรียมน้ำสมุนไพรไว้ดื่มเองนั้น ราคาจะย่อมเยา สะอาด ปราศจากสารพิษ รสชาติจะถูกปากของแต่ละบุคคลได้ทั้งกลิ่นและรสตามธรรมชาติของสมุนไพรนั้น ๆ ร่างกายของคนเรามีส่วนประกอบของน้ำประมาณร้อยละ 80 น้ำจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตรองจากอากาศ ร่างกายต้องใช้น้ำไปช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้ตามปกติ น้ำในร่างกายจะมีการสูญเสียวันละประมาณ 2–3 ลิตร ถ้าเราไม่ดื่มน้ำเข้าไปชดเชย จะทำให้เกิดการกระหายน้ำ ฉะนั้นเราจึงต้องดื่มน้ำเข้าไปทดแทนเท่ากับที่เสียไป แต่ในบางครั้งความกระหายทำให้คนยังยึดติดในรสชาติ จึงมักหันไปดื่มน้ำที่ให้รสชาติ เช่น น้ำสมุนไพรซึ่งมีประโยชน์ทางยา มีคุณค่าทางอาหารและช่วยในการป้องกันโรค เป็นต้น

โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน เหงื่อออกมาก ดื่มน้ำสมุนไพรก็จะช่วยให้จิตใจชุ่มชื่นทำให้รู้สึกสบาย เพราะน้ำสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยผ่อนคลายความร้อนทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง เช่น น้ำมะขาม ช่วยลดอาการกระหายน้ำ น้ำสมุนไพรบางชนิดช่วยบำรุงหัวใจเป็นยาเย็น ได้แก่ น้ำใบเตย น้ำใบบัวบก น้ำสมุนไพรบางชนิด มีคุณสมบัติช่วยย่อย ช่วยทำให้ธาตุปกติและฟอกเลือด ได้แก่น้ำมะเขือเทศ เป็นต้น น้ำสมุนไพรเหล่านี้ เป็นได้ทั้งอาหารและให้คุณค่าทางยาได้บ้างเล็กน้อย ดังนั้น น้ำสมุนไพรจึงเปรียบเสมือนยาที่ช่วยบำรุง ปกป้องรักษาสภาวะร่างกายให้เกิดสมดุล ทำให้สุขภาพดีในที่สุด

คุณค่าและประโยชน์น้ำสมุนไพร

น้ำสมุนไพรมีรสชาติที่อร่อยตามธรรมชาติ ให้คุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายโดยตรง มีผลต่อระบบการย่อยอาหาร เจริญอาหาร ให้พลังงานทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ร่างกายกระชุ่มกระชวย และอุดมไปด้วย วิตามินเกลือแร่ นอกจากผิวพรรณแล้ว ยังช่วยบำรุงเส้นผมช่วยควบคุมไขมันส่วนที่เกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสารอาหารในน้ำสมุนไพรช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกายทำให้สารอาหารชนิดอื่นได้ประโยชน์อย่างเต็มที่

ข้อแนะนำในการเตรียมน้ำสมุนไพร

การเตรียมน้ำสมุนไพร เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริงควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

การเลือกสมุนไพร 
สมุนไพรสด เลือกที่สด เก็บมาจากต้นใหม่ ตามฤดูกาลสีสันเป็นธรรมชาติตามชนิดของสมุนไพรไม่มีรอยช้ำเน่าเสียความสดทำให้มีรสชาติดี มีคุณค่ามากกว่า 

สมุนไพรแห้ง การแปรรูปสมุนไพร โดยวิธีทำให้แห้ง เป็นการเก็บรักษาสมุนไพร

ความสะอาดของภาชนะและสมุนไพร

ความสะอาดของตัวสมุนไพร ควรล้างให้ถูกวิธี ถ้าเป็นสมุนไพรแห้งจะต้องล้างอย่างน้อย 1 – 2 ครั้ง ถ้าเป็นสมุนไพรสด ควรล้างอย่างน้อย 2 – 3 ครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีที่ติดมา ซึ่งสามารถลดปริมาณสารพิษในผักและผลไม้ได้ การล้างผักและผลไม้เพื่อลดปริมาณสารพิษทำได้ดังนี้ 

     – แช่น้ำสะอาด 15 นาที ลดปริมาณสารพิษได้ ร้อยละ 7 – 8

     – ล้างด้วยน้ำโซดา 1 เปอร์เซนต์ ลดปริมาณสารพิษได้ ร้อยละ 23 – 61 

     – ให้น้ำก๊อกไหลผ่าน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษได้ ร้อยละ 54 – 63

     – แช่ด้วยน้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซ็นต์ ลดปริมาณสารพิษได้ ร้อยละ 60 – 84

ภาชนะสำหรับใส่น้ำสมุนไพร เช่น แก้วน้ำ หรือขวดแก้ว ต้องสะอาด

วิธีดื่มและข้อควรคำนึงเกี่ยวกับน้ำสมุนไพร

ปัจจุบันได้มีผู้คิดค้นหาวิธีการรักษาโรคต่างๆโดยใช้น้ำที่ทำจากผักผลไม้ธัญพืชต่าง ๆ น้ำสมุนไพรบางชนิดจะดื่มลำบาก ในช่วงแรกของการดื่มอาจ จะทำให้รู้สึกอึดอัดเนื่องจาก รสชาติไม่ค่อยตรงกับรสนิยมของผู้ดื่มแต่จะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น วิธีการดื่มที่ดี ควรดื่ม แบบจิบช้า ๆ และควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและทางยา มากกว่าปล่อย ทิ้งไว้นานแล้วดื่ม เนื่องจากจะทำให้คุณค่าลดลง นอกจากนี้ยังสามารถทำดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น ตามความชอบของแต่ละบุคคล การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้ เกิดการสะสมสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้การดื่มน้ำสมุนไพรร้อน ๆ ที่มีอุณหภูมิ ๖๐ องศา เซลเซียส ขึ้นไปทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่และอาจทำให้มี การดูซึมสารก่อมะเร็งจุลินทรีย์ฯลฯได้ง่าย

Shares: