โรคหัด

  • สาเหตุ  และอาการ

                        เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสหัด  พบบ่อนในเด็กช่วงอายุ  ๑-๖  ปี  ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ  จามรดกันโดยตรง  หรือกจากการหายใจเอาละออกเสมหะ  น้ำมูก  น้ำลายของผู้ป่วยที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไป  โรคหัดมักเกิดจากการระบาดในช่วงปลายฤดูหนาวต่อกับฤดูร้อน

                        โรคหัดมีระยะหักตัวอระมาณ ๘-๑๒  วัน  หลังจากนั้นจะมีไข้  น้ำมูกไหล  ไอ  ตาแดง  อาการต่าง ๆ เหล่านี้จะรุนแรงมากขึ้น  ผื้นจะขึ้นประมาณวันที่ ๔ นับตั้งแต่เริ่มมีไข้  ซึ่งไข้จะลดลงเมื่อผื่นกระจายไปทั่วตัว  และจางหายภายในระยะวเลาประมาณ ๑๔ วัน  ผู้ป่วยโรคหัดอาจมีโรคแทรกซ้อน  ได้แก่  ปอดอักเสบ  อุจาระร่วง  ช่องหูอักเสบ  สมองอักเสบและภาวะทุพโภชนาการ  โดยเฉพาะในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ  หรือขาดวิตามินเอ  เมื่อเป็นหัดจะมีความรุนแรงมาก  และถ้ามีปอดอักเสบร่วมด้วย  อาจทำให้เสียชีวิตได้

                        ข.  กา­รป้องกัน  และรักษา

                        ๑.  เมื่อสงสัยว่าเป็นหัด  ควรให้แพทย์ตรวจเพื่อการวินิจฉัย  และรักษาที่ถูกต้อง  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ  และให้ยาที่เหมาะสมเมื่อมีโรคแทรกซ้อน

                        ๒.  ให้ผู้ป่วยนอนพัก  เช็ดตัวในช่วงที่มีไข้สูงและให้อาหารอ่อนที่มีคุณค่า 

                        ๓.  แยกผู้ป่วยออกจากเด็กอื่น ๆ จนถึงระยะ  ๔-๕  วัน หลังผื่นขึ้น

                        ๔.  ระวังโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เพราะระยะที่เป็นหัด  เด็กจะมีความต้านทานโรคบางอย่างลดลง  โดยเฉพาะวัณโรค  ดังนั้นจึงต้องระวังการติดเชื้อจากผู้ใหญ่

                        ๕.  หลายคนเชื่อว่าเด็กต้องออกหัดทุกคน  ซึ่งเป็นความจริง  เพราะโรคหัดเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน  โดยรับวัคซีนหัด  หัดเยอรมัน  คางทูม  ๒  ครั้ง  ครั้งที่  ๑อายุระหว่าง  ๙-๑๒  เดือน  และครั้งที่  ๒  ในเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่  ๑  อายุ ๖-๗  ปี

อ้างอิง ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง  การป้องกันโรคที่เกิดในฤดูหนาว

Shares: