โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มักถูกวินิจฉัยในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้เพียงพอ สามารถส่งผลเสียต่อมารดาและทารกได้

การดูแลรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Management of Gestational Diabetes Mellitus)

  • ควบคุมอาหาร การควบคุมอาหารที่ปฏิบัติได้ง่ายๆ คือ ต้องไม่รับประทานขนมที่ทำมาจากแป้งและน้ำตาล เช่น คุกกี้ ขนมหวานต่างๆ ควรรับประทานผลไม้สดมากกว่าขนม ผลไม้ที่รับประทานได้ควรเป็นผลไม้ที่ไม่มีรสหวานมาก ส่วนผักสามารถรับประทานผักได้โดยไม่จำกัด สำหรับข้าวสามารถรับประทานได้ทั้ง 3 มื้อ ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป ใน 1 วันไม่ควรเกิน 8 ทัพพี สำหรับเนื้อสัตว์ สามารถรับประทานได้ โดยเลือกเนื้อที่มีไขมันน้อย เช่น ปลา หมู ไก่ ดื่มนมสดได้วันละ 2 แก้วแต่ควรเป็นนมที่มีไขมันน้อย
  • ออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอวันละ 15-20 นาที เช่น การเดินแกว่งแขน ภายหลังมื้ออาหาร เป็นต้น การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดี การควบคุมน้ำตาลได้ จะลดภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายต่างๆ ที่จะเกิดกับหญิงตั้งครรภ์และลูกในครรภ์ได้อย่างมาก ถ้าหญิงตั้งครรภ์ท่านใดมีน้ำตาลในเลือดสูงมากเกินกว่าที่จะควบคุมโดยการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย จะต้องได้รับการฉีดอินซูลิน หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานทุกคนจะต้องมารับการตรวจครรภ์อย่างต่อเนื่องตามแผนการดูแล

“โรคเบาหวาน” ที่พบร่วมกับการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ คือ

  1. โรคเบาหวานที่พบก่อนการตั้งครรภ์ (Pregnancy Diabetes)
  2. โรคเบาหวานที่พบครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes)

อันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ มีอัตราเสี่ยงของภาวะดังต่อไปนี้เพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ (toxemia of pregnancy)
  • ภาวะติดเชื้อของกรวยไต (pyelonephritis)
  • ภาวะครรภ์แฝดน้ำ
  • มารดาเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสู
  • การติดเชื้อ และการผ่าตัดคลอด มีอุบัติการณ์สูงขึ้น

อ้างอิง
https://www.nonthavej.co.th/Gestational-Diabetes.php

https://www.samitivejhospitals.com

Shares: